top of page

เจาะลึก 3 กรณีศึกษาจริง! Release Management



วันนี้เราจะมาดูตัวอย่างจริงของการนำ Release Management ไปใช้งานในองค์กรต่างๆ และช่วยสร้างประโยชน์อะไรได้บ้าง ไปดูกันเลย!

 

Case Study 1: IBM Cloud Kubernetes Service

 

IBM Cloud Kubernetes Service เป็นบริการโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการรัน container บน IBM Cloud โดย Release Management ช่วย IBM ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น การลดต้นทุน (Cost Saving) ลดเวลาในการทำงาน และ เพิ่มความมั่นใจให้ทีมปฏิบัติการ (Operations Team)

 

ปัญหา:


IBM เปิดให้ผู้ใช้สามารถทดลองใช้บริการ ฟรี (Free Trial) แต่กลับมีผู้ใช้นำไปใช้ในทางที่ผิด เช่น ขุดเหมือง Bitcoin ซึ่งทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างไม่จำเป็น ทีมวิศวกรต้องเสียเวลาและแรงงานจำนวนมากในการตรวจสอบและปิดกั้นการใช้งานที่ผิดประเภท

 

วิธีแก้ปัญหา:


IBM ใช้ Release Management เพื่อแก้ปัญหานี้ด้วยวิธีการดังนี้:


1.    ปิด Free Trial อัตโนมัติ โดยไม่ต้อง Restart ระบบ

2.    บล็อกการเข้าถึงจาก IP หรือโดเมนที่มีประวัติการใช้งานผิดประเภท ทำให้สามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวนมาก และช่วยลดภาระงานของทีมผู้เชี่ยวชาญที่ต้องคอยตรวจสอบพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้า

 

เคสที่ 2 ของ IBM


Progressive Deployment ในการเปิด Data Center ใหม่


IBM ต้องการเปิด Data Center ใหม่ เพื่อรองรับการใช้งานในหลายภูมิภาค ก่อนเปิดให้ใช้งานจริง ต้องมีการ ทดสอบภายใน โดยให้ Admin และ Tester ทดลองใช้งานก่อน แล้วจึงค่อยๆ ขยายไปยัง Beta User และผู้ใช้ทั่วไป นี่เป็นแนวทาง Progressive Deployment ที่ช่วยให้ IBM สามารถ ควบคุมคุณภาพ และ ลดความเสี่ยง ก่อนเปิดให้ผู้ใช้ทั้งหมด

 

Case Study 2: Vodafone


Vodafone เป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมระดับโลก มีลูกค้ากว่า 330 ล้านคน ใน 15 ประเทศ โดยบริษัทกำลัง Transform ตัวเองเป็นบริษัทเทคโนโลยี ต้องการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีนวัตกรรมมากขึ้น


ปัญหา:

ก่อนหน้านี้ Vodafone มีรอบการออก Feature ใหม่ที่ล่าช้า ใช้วิธี Big Bang Release ซึ่งหมายถึงการออก ฟีเจอร์ใหม่เพียง 1 ครั้งต่อไตรมาส ทำให้ไม่สามารถแข่งขันในตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้

 

วิธีแก้ปัญหา:


ผู้บริหารของ Vodafone ต้องการให้มีการออก Feature ใหม่บ่อยขึ้น โดยใช้ Release Management เพื่อลดความเสี่ยงและแยกการ Deploy ออกจากการ Release โดย:


  • เปลี่ยนมาใช้ Trunk-Based Development แทนการแยก Branch หลายเวอร์ชัน

  • ใช้ Feature Flags เพื่อควบคุมการเปิด-ปิดฟีเจอร์ใน Production


ผลลัพธ์:


  • เพิ่มความเร็วในการ Rollout Feature ใหม่ จาก 1 ครั้งต่อไตรมาส → 220 Releases ต่อเดือน!

  • ยังคง เสถียรภาพสูงสุด แม้มีการปล่อยฟีเจอร์บ่อยขึ้น

  • ผู้บริหารของ Vodafone กล่าวว่า “LaunchDarkly เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เรามาถึงจุดนี้ได้”

 

Case Study 3: Atlassian


Atlassian เป็นบริษัทพัฒนา ซอฟต์แวร์ระดับโลก ที่หลายคนรู้จัก เช่น Trello (Kanban Board) และ Jira (ระบบจัดการ Bug & Project Management)


ปัญหา:


ก่อนหน้านี้ Atlassian มีระบบ Feature Flag เป็นของตัวเอง แต่:

  • ทีมที่พัฒนา ต้องใช้เวลามากขึ้นในการ Support ทีมอื่นๆ

  • มี ข้อจำกัดด้าน SDK ที่ต้องรองรับหลายภาษา เช่น Python, JavaScript

  • UI ของระบบที่พัฒนาเองใช้งานยาก มีเพียงทีมเทคนิคที่สามารถใช้งานได้


วิธีแก้ปัญหา:


เมื่อ Atlassian เปลี่ยนมาใช้ LaunchDarkly สิ่งที่เกิดขึ้นคือ:

  • มี SDK รองรับมากกว่า 30-40 ภาษา ทำให้ไม่ต้องพัฒนาเอง

  • มี User Interface ที่ใช้งานง่าย ให้ทีมธุรกิจสามารถควบคุมการเปิด-ปิดฟีเจอร์ได้

  • มีระบบ Audit & Compliance พร้อมใช้งาน


ผลลัพธ์:

  • Net Promoter Score (NPS) เพิ่มขึ้น หมายถึงลูกค้าแนะนำผลิตภัณฑ์มากขึ้น

  • ลดเวลาในการแก้ไขปัญหา Production Issue ได้ถึง 97%

  • ทำให้ทีมพัฒนาสามารถโฟกัสที่ การสร้างนวัตกรรม แทนที่จะต้องดูแลระบบ Feature Flag เอง


สรุป

จาก 3 กรณีศึกษา IBM, Vodafone และ Atlassian จะเห็นได้ว่า Release Management เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเพิ่มความเร็วในการออกฟีเจอร์ ลดต้นทุน และทำให้ระบบมีเสถียรภาพมากขึ้น นี่คือ ข้อดีของการใช้ LaunchDarkly  ครับ

DPM (Thailand) Co.,Ltd.

999 Gaysorn Building, 6th floor, Unit 6A-3, Ploenchit Rd.,Lumpini, Patumwan, Bangkok 10330 

TAX ID: 0125558008376 (HQ)
Phone Number: +662-118-3772
                            +66-62014-5666

Email: marketing@dpminter.com
bottom of page