top of page

ESG คืออะไร? ทิศทางการใช้ AI ในองค์กรตามแนวคิด ESG



ESG เป็นเรื่องที่ Hot Hit! มากเมื่อปลายปี 2023 ที่ผ่านมา เนื่องจากทางรัฐบาลได้ประกาศว่า กองทุนที่ไปลงทุนในกลุ่มของหุ้นที่เป็น ESG สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ โดยเพิ่มจากเดิมอีก 100,000 บาท จึงกลายเป็นที่สนใจของผู้ลงทุนหรือตลาดของผู้เสียภาษี


หากเป็นมุมมองของนักลงทุนในเรื่องของ ESG พวกเขาจะมองหาว่าบริษัทใดบ้างที่ดูแลสภาพแวดล้อม บริษัทใดบ้างที่ให้ความสำคัญในเรื่องของ Carbon footprint เช่น การดำเนินกิจการของบริษัทมีการสร้าง carbon ขึ้นไปในชั้นบรรยากาศเป็นจำนวนเท่าไหร่ และจะสามารถลด carbon ลงได้อย่างไร อนาคตเป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะไม่มีการปล่อย carbon ไปในชั้นบรรยากาศเลย เป็นต้น


ESG คืออะไร?


ESG ย่อมากจาก Environment, Social และGovernance


E = Environment ยกตัวอย่าง ปตท. คือ บริษัทผลิตน้ำมัน ไม่สามารถที่ลดการปล่อย carbon ทั้งทางตรง และทางอ้อมได้ แต่เขามีการทำสิ่งที่เรียกว่า Carbon Credit ในเมื่อกิจกรรมการทำงานของบริษัทไม่สามารถลดจำนวน carbon ที่ปล่อยไปในอากาศได้ จึงได้สร้างออกซิเจนหรือว่าโอโซนเพื่อรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม


S = Social Life คือ สังคมที่เราอยู่ หากเป็นภาษาทางการลงทุนเรียกว่า Stakeholder ยกตัวอย่าง องค์กรที่เราอยู่ประกอบด้วย พนักงาน หากไม่มีพนักงานก็ไม่มีบริษัท บริษัทดูแลพนักงานดีไหม ให้ผลตอบแทนอย่างไรบ้าง บริษัทดูแลคู่ค้าดีหรือไม่ ผู้ถือหุ้น บริษัทมีผลกำไรเท่าไหร่ เอางบไปลงทุนเท่าไหร่ บริษัทหรือบุคคลที่ดูแลสภาพแวดล้อมดูแลสังคมให้น่าอยู่ ผ่อนหนักเป็นเบามีกระทบกระทั่งก็ช่วยเหลือเกื้อกูลกันเป็นกัลยาณมิตรที่ดีต่อกัน


G = Governance คือ ความโปร่งใส ธรรมาภิบาล ผู้บริหารมีการยักยอกเงินหรือเปล่า มีการตรวจสอบหรือไม่ องค์กรที่เน้นเรื่องของความโปร่งใส ความยุติธรรม ก็จะทำให้ทุกคนอยู่กันได้แบบ long term

ในเมืองไทยมีบริษัทที่เข้าข่ายของ ESG เยอะมาก โดยเฉพาะบริษัทในตลาดหลักทรัพย์หรือตลาด MAI

 

ทิศทางของการใช้ AI ในองค์กรของเราตามแนวคิดของ ESG


Microsoft Office ที่เพิ่ง launch ตัว Copilot ออกมา ซึ่งเป็น Generative AI ที่อยู่ใกล้กับตัวเรา คล้ายๆกับ ChatGPT ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เราประชุมออนไลน์ Copilot สามารถสรุปการประชุมออกมาเป็น action item ให้เราได้ หลังจากนั้นเราก็มาเกลาดูว่ามัน make sense หรือเปล่า ซึ่งจะมีประโยชน์สำหรับคนที่ต้องประชุมจำนวนมาก เราอาจจะไม่มีเวลามากลั่นกรองเพื่อที่จะสร้าง productivity ได้ หากเรามี AI เข้ามาช่วยมันสามารถที่จะทำให้เรามี productive มากขึ้น เพื่อที่เราจะได้ไป drive ต่อ ซึ่งช่วยให้เราไม่ต้องเสียเวลาเพิ่มในการมาทำสรุป จะทำให้เรามีเวลามากขึ้น และสามารถที่จะเอามา apply กับตัวที่เป็น social ได้ในเรื่องของการดูแลพนักงานในภาพรวม หรือแม้กระทั่งตัวที่เป็นสรุปการประชุมที่ทุกคนสามารถเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน มองเห็นในภาพเดียวกัน ก็คือ Governance แน่นอนว่าเวลาที่เราทำงานน้อยลงเราก็จะใช้ไฟฟ้าน้อยลง หากมีคนเป็นหมื่นเป็นแสนคน เราสามารถที่จะเอา AI เหล่านี้มาใช้ ส่งผลให้ในภาพรวมก็สามารถที่จะลดการใช้ไฟฟ้าลงได้เยอะ


อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ Dynatrace เป็น AI ที่ถูกเทรนมาแล้ว Agent ของ Dynatrace จะสามารถ detect ปัญหาหรือ detect error ที่เกิดขึ้นได้ Devis AI จะสามารถสรุปออกมาได้ว่า root cause คืออะไร ปัญหาเกิดตั้งแต่กี่โมงถึงกี่โมง เราสามารถสั่งให้มันไปแจ้ง Tier1 Tier2 Tier3 แล้วดูว่าใช้เวลาในการแก้ปัญหาไปเท่าไหร่ หากเรารู้ปัญหาเร็ว ก็จะแก้ได้เร็ว สิ่งที่ตามมาคือ ลูกค้าได้รับการบริการที่ดีขึ้น ลูกค้าของลูกค้ากลุ่มนี้เวลาที่เข้ามาใช้บริการใช้แอปพลิเคชันก็จะไม่รู้สึกว่าหน่วง ไม่รู้สึกว่ามีปัญหา ซึ่งจะทำให้ภาพรวมของการใช้งานทั้งหมดมี productivity มากขึ้น


สุดท้ายนี้ ผู้อ่านทุกท่านสามารถลองคิดดูได้ว่า เราจะสามารถให้ AI เข้ามาอยู่กับพวกเราอย่างไรได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็น Copilot หรือ Dynatrace AI ลองทำความเข้าใจเพื่อที่จะใช้ AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะทำให้โลกเรายั่งยืนยิ่งขึ้น


หากสนใจผลิตภัณฑ์ Dynatrace หรือ Digital Immune System solutions เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบไอทีภายในองค์กรสามารถติดต่อที่ DPM Thailand ได้เลยนะครับ

Phone number: 062-014-5666

bottom of page