เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับเทคโนโลยีคลาวด์กัน หลายท่านอาจจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี หลายท่านอาจจะเคยได้ยิน แต่ไม่รู้ว่า Cloud สามารถทำอะไรได้บ้าง มีความปลอดภัยมากขนาดไหน
ปัจจุบันโลกของเรามีข้อมูลจำนวนมหาศาลมาก ๆ ทุกคนคงจะคุ้นเคยกับการจัดเก็บข้อมูล ตัวอย่างเช่น การเก็บข้อมูลลงในแฟ้ม การจดบันทึกลงในสมุด การเก็บข้อมูลลงใน Hard Drive หรือ Thumb drive ซึ่งการเก็บข้อมูลเหล่านี้ เป็นการบันทึกข้อมูลลงในอุปกรณ์ที่สามารถจับต้องได้ สามารถระบุตำแหน่งของอุปกรณ์ได้ แต่ Cloud นั้นจะแตกต่างออกไปตรงที่ข้อมูลของเราจะเหมือนกับลอยอยู่ในอากาศ และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ผ่านอินเทอร์เน็ตเมื่อไหร่ก็ได้ และที่ไหนก็ได้บนโลก
Concept ของ Cloud หลัก ๆ มีอยู่ 3 ข้อด้วยกันค่ะ ข้อแรกก็คือ Flexibility หรือความยืดหยุ่น, Scalability หรือความสามารถในการเพิ่มหรือลด Infrastructure resources ได้โดยอัตโนมัติ และ Accessibility หรือการเข้าถึงได้โดยง่ายจากทุกที่
ซึ่ง Cloud จะเข้ามาช่วยลดความซับซ้อนของการพัฒนาแอปพลิเคชัน ให้ผู้พัฒนาหรือ developer โฟกัสกับสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการจัดการทรัพยากรต่าง ๆ เช่น การบำรุงรักษาเครื่อง server, การวางแผนว่าจะเพิ่ม server เท่าไหร่ในช่วงที่แอปพลิเคชันของเรามีคนเข้ามาใช้งานเยอะ รวมไปถึงการคำนวณ cost วางแผนการใช้งบต่าง ๆ ด้วย
ทุกท่านสามารถลองนึกภาพตาม เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่มากขึ้น
การใช้บริการ cloud ก็เหมือนกับการที่เราไปเช่าโกดังเพื่อเก็บของ โดยที่เราไม่ต้องลงทุนสร้างโกดังเอง ที่ต้องเสียทั้งค่าออกแบบ ค่าอุปกรณ์ก่อสร้าง ค่าแรงของพี่ ๆ คนงาน ซึ่งโกดังคลาวด์ที่เราเช่าไว้ เราจะสามารถใส่ข้อมูลเข้าไปได้จำนวนมหาศาล และเข้าถึงข้อมูลนั้นได้จากทุกที่บนโลกนั่นเอง
โดยบริการคลาวด์ หรือ Cloud services นี้จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท เพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน หรือ use cases ที่แตกต่างกัน
ประเภทแรกคือ Infrastructure as a service หรือ IaaS
บริการประเภทนี้ ทำให้เราไม่ต้องเสียเวลา set up เครื่อง server, สร้าง virtual machines, ลง OS เอง โดยผู้ให้บริการ Cloud เจ้าต่าง ๆ เขาก็จะมี building block สำเร็จรูปให้เราเลือกใช้งาน เช่น บริการ Elastic Compute Service ของ AWS (Amazon Web Services) ไม่ว่าเราจะอยากได้เครื่องสเปคไหน RAM CPU Network Storage เท่าไหร่ OS อะไร เพียงแค่คลิก ๆ ในหน้าเว็บไซท์ของผู้ให้บริการ cloud เราก็จะสามารถสร้าง infrastructure resources ได้ง่าย ๆ เพียงไม่กี่คลิก ซึ่งถือว่าสะดวกมาก ๆ เลย
ในส่วนของราคานั้นก็ตรงไปตรงมา มีหลายแบบให้เลือกใช้ ถ้าเราอยากใช้เครื่องแปปเดียว ก็จะคิดราคาแบบ pay as you go หรือใช้เท่าไหร่ก็จ่ายเท่านั้น ใช้ 1 ชั่วโมง ก็จ่ายแค่ 1 ชั่วโมง ไม่จำเป็นต้องซื้อหลาย ๆ ปีก็ได้ แต่หากคุณอยากใช้เครื่องเป็นเวลานาน ๆ ผู้ให้บริการเขาก็มี pricing plan ที่ถูกลง สำหรับการใช้งานเป็นเวลา 1 หรือหลาย ๆ ปีขึ้นไป คุณก็จะได้ราคาพิเศษ ถือว่าประหยัดไปได้เยอะเลย
Cloud services ประเภทที่ 2 คือ Platform as a service หรือ PaaS
ซึ่งผู้ให้บริการ Cloud ก็จะสร้าง platform สำเร็จรูปขึ้นมา คล้าย ๆ กับ template ให้เราเลือกใช้งาน เช่น ถ้าเราอยากจะสร้าง application เล็ก ๆ ขึ้นมาอันนึง เราก็สามารถใช้บริการ PaaS ด้วยการคลิกผ่านหน้า console ของผู้ให้บริการ Cloud เพื่อเลือก template สำเร็จรูปที่มีส่วนประกอบพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับ application provision ไว้รออยู่แล้ว เช่น virtual machine แล้วคุณก็จะสามารถ deploy, update version ของ application ได้ง่ายๆในหน้าเดียว
ยกตัวอย่างเช่น บริการของ Amazon Web Services ที่ชื่อว่า AWS Elastic Beanstalk ซึ่งเป็น service ที่ support การพัฒนา application หลากหลายภาษา เช่น Go, Java, PHP, .NET, nodejs, python และไม่เสียเงินค่าบริการ ผู้ใช้จะจ่ายแค่ตัว application resources ที่ถูกสร้างขึ้นภายใต้ template เท่านั้น
Cloud services ประเภทสุดท้าย คือ Software as a service หรือ SaaS
บริการประเภทนี้เป็นซอฟท์แวร์สำเร็จรูปที่พร้อมใช้งาน ซึ่งบริการพวกนี้จะอยู่บน Marketplace ของผู้ให้บริการ Cloud พร้อมให้คุณผู้ชมดาวน์โหลด หรือ subscribe มาใช้งานได้เลยค่ะ เช่น เครื่องมือประเภท performance monitoring, testing tools หรือ project management tools ต่าง ๆ นั่นเอง
ปัจจุบันนี้มีผู้ให้บริการคลาวด์ทั้ง public และ private มากมายให้เลือกใช้ตามความต้องการ ซึ่งมีการตั้ง data centers ไว้ตามเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก ให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้งานกัน รวมไปถึงการจัดเก็บข้อมูลที่ปลอดภัยทั้งด้าน digital และ physical ดังนั้น คุณสามารถมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลได้อย่างแน่นอน
เพราะองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในไทยและต่างประเทศก็ใช้บริการ Cloud กันอย่างแพร่หลาย เพราะสะดวก และประหยัดกว่าการสร้าง data center เองมาก หรือก็มีบางองค์กรที่ใช้งานแบบ Hybrid คือวางข้อมูลบางส่วนไว้บน data center ของตัวเอง และบางส่วนอยู่บน cloud ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน
ซึ่งหากต้องการ migrate ไปใช้ Cloud แบบ 100% หรือทำการ back up ข้อมูลบางส่วนไปไว้บน Cloud หรือการนำข้อมูลจาก application ไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล Big Data Machine Learning หรือแม้กระทั่งบริการส่ง sms หรือ บริการ customer experience ต่าง ๆ
ทางผู้ให้บริการก็มีบริการสำหรับ use case เหล่านี้เช่นเดียวกัน เรียกได้ว่าครอบคลุมมาก ๆ ใน platform เดียว วันนี้เราก็ได้ทำความรู้จักกับคลาวด์ไปคร่าว ๆ แล้ว หากท่านมีข้อสงสัยหรืออยากปรึกษาเกี่ยวกับการใช้งาน Cloud สามารถติดต่อพวกเรา DPM ได้ที่
Email: marketing@dpminter.com