top of page

5 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Feature Flag ที่คุณอาจยังไม่รู้


วันนี้เราจะมาพูดถึง 5 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Feature Flag หรือกลไกการเปิด-ปิดฟีเจอร์ในซอฟต์แวร์ที่หลายคนอาจยังเข้าใจผิดอยู่ พร้อมเฉลยความจริงที่น่าสนใจ และถ้าคุณเคยคิดว่า Feature Flag ใช้ยากหรือเหมาะกับบริษัทใหญ่เท่านั้น วิดีโอนี้เหมาะกับคุณค่ะ


ข้อที่ 1: Feature Flag ใช้ได้เฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ จริงหรือไม่ ?


หลายคนอาจคิดว่า Feature Flag เป็นเครื่องมือซับซ้อน เหมาะกับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีทีม Developer เยอะ ๆ เช่น Netflix หรือ Amazon แต่จริง ๆ แล้ว ไม่ว่าคุณจะเป็น Start-up หรือทีมพัฒนาเล็ก ๆ ก็สามารถใช้ Feature Flag ได้ค่ะยกตัวอย่าง ถ้าคุณเป็นทีมเล็ก ๆ ที่ต้องการปล่อยฟีเจอร์ใหม่แต่ไม่อยากรอ Deploy ครั้งใหญ่ คุณสามารถตั้งค่า Feature Flag เพื่อเปิดฟีเจอร์เฉพาะกลุ่ม Beta Tester ได้ทันที ช่วยลดภาระงานใหญ่และปล่อยงานได้เร็วขึ้นค่ะ


ข้อที่ 2: ใช้ได้เฉพาะ Developer เท่านั้น


อีกความเชื่อที่ผิดคือ Feature Flag เหมาะกับ Developer เท่านั้น ซึ่งจริง ๆ แล้วทีมอื่น ๆ ก็ใช้ประโยชน์จากมันได้ค่ะ เช่น


  • ทีม QA: ใช้ทดสอบฟีเจอร์ใหม่กับระบบบางส่วน

  • ทีม Marketing: ใช้ควบคุมการปล่อยฟีเจอร์ให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย


    ยกตัวอย่างแคมเปญการตลาดสมมติว่าคุณปล่อยโปรโมชั่นใหม่เฉพาะลูกค้า VIP ในระบบ คุณสามารถตั้งค่า Feature Flag ให้เปิดโปรโมชั่นเฉพาะลูกค้า VIP โดยที่ไม่กระทบผู้ใช้งานทั่วไปเลย


ข้อที่ 3: ใช้แล้วโค้ดจะซับซ้อนขึ้น รก หรืออ่านไม่เข้าใจ


บางคนอาจคิดว่าการใช้ Feature Flag จะทำให้โค้ดยุ่งเหยิง เพราะต้องเพิ่มการตั้งค่ามากมายในโค้ด แต่ความจริงคือ สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการ: 


1.      ตั้งชื่อ Feature Flag ให้ชัดเจน เช่น new_checkout_ui แทนที่จะตั้งชื่อแบบไม่มีความหมาย เช่น flag1


2.      ลบ Feature Flag ที่ไม่ได้ใช้งานแล้วทันที เพื่อไม่ให้เกิด ‘Flag Debt’ ที่ทำให้โค้ดรก


ความเข้าใจผิดที่ 4: ใช้ Feature Flag แล้วไม่ต้องทดสอบฟีเจอร์เลย


Feature Flag ช่วยให้เราทดลองฟีเจอร์ใหม่ได้จริงค่ะ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะข้ามขั้นตอน Testing ไปได้ แต่ฟีเจอร์นี้จะมาช่วยให้การทดสอบเป็นไปได้อย่างราบรื่นมากขึ้น ตัวอย่างเช่น


  • ทีม QA สามารถใช้ Feature Flag เพื่อจำกัดขอบเขตการทดสอบฟีเจอร์ เพื่อไม่ให้กระทบกับระบบส่วนอื่น


  • ทีม DevOps สามารถ Rollback ฟีเจอร์ได้ทันที หากพบปัญหาระหว่างการทดสอบ ทำให้ลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาจากการทดสอบ


ความเข้าใจผิดที่ 5: การจัดการ Feature Flag เป็นงานที่เสียเวลา


หลายคนมองว่าการตั้งค่าและจัดการ Feature Flag จะทำให้เสียเวลา แต่ปัจจุบันนี้ เรามีเครื่องมือสำหรับสร้างและจัดการ feature flag โดยเฉพาะ เช่น


LaunchDarkly: ที่มี User Interface ที่ช่วยให้คุณเปิด-ปิดฟีเจอร์ได้ในไม่กี่คลิก


  • คุณยังสามารถตั้งเงื่อนไขการปล่อยฟีเจอร์ เช่น เปิดใช้งานเฉพาะผู้ใช้ในประเทศที่ต้องการได้ทันที


“นี่คือ 5 ความเข้าใจผิดที่หลายคนมีเกี่ยวกับ Feature Flag ที่เราหวังว่าคุณจะได้มุมมองใหม่ ๆ ไปปรับใช้"


DPM (Thailand) Co.,Ltd.

999 Gaysorn Building, 6th floor, Unit 6A-3, Ploenchit Rd.,Lumpini, Patumwan, Bangkok 10330 

TAX ID: 0125558008376 (HQ)
Phone Number: +662-118-3772
                            +66-62014-5666

Email: marketing@dpminter.com
bottom of page